ข่าวสด สุขภาพ : ผักสดในข้าวกล่อง เสี่ยงอาหารเป็นพิษ
พ่อค้า แม่ค้าขายอาหารกล่อง มัก ใส่ผักสดรวมลงไปในกล่องข้าว ซึ่งมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรคสูง เสี่ยงทำ ผู้บริโภคอาหารเป็นพิษ
ดร.นพ.สุ
วิช ธรรมปาโล ผอ.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา เผยว่า
ในผักสดประกอบด้วยน้ำปริมาณสูงมาก และเป็นแหล่งที่มีธาตุอาหารต่างๆ
อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งมีระดับพีเอชเฉลี่ย 5-7
ซึ่งเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ชนิดแบคทีเรีย
ผักสดจึงเกิดการเน่าเสีย เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียมากที่สุด
เชื้อ
ดังกล่าวนี้จะสามารถปนเปื้อนเข้าสู่ผักสดได้ในหลายกรณี เช่น มาจากดินที่
ปลูกพืช จากภาชนะที่ใส่ตอนเก็บเกี่ยว กระบวนการขนส่ง แม้กระทั่งการล้าง
ก็มีส่วนทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในส่วนเน่าเสียของผักกระจายออกไปได้
นอกจากนี้เชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในผัก
อาจมาจากมือของผู้ประกอบอาหารหรือผู้ที่สัมผัสกับผักสดนั้นๆ ด้วย
หาก
นำผักสด ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย
มาวางบนอาหารที่ปรุงสุกแล้วภายในกล่อง ซึ่งมีอุณหภูมิสูง 35-50 องศา
เป็นเวลานาน ผักสดจะได้รับความร้อนจากอาหารนั้น
ทำให้ผนังเซลล์ของผักถูกทำลาย เกิดการอ่อนนิ่มลง
และอยู่ในสภาวะเร่งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
ทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ง่ายขึ้น เกิดการเน่าอย่างรวดเร็ว
และสร้างสารพิษออกมาปนเปื้อนลงสู่อาหารที่ปรุงสุกแล้ว
เมื่อผู้บริโภครับประทานอาหารดังกล่าวเข้าไป
จึงเสี่ยงที่จะเกิดอาหารเป็นพิษได้
ทั้งนี้อยากฝากเตือนพ่อค้า
แม่ค้าที่จำหน่ายอาหารกล่อง อย่าใส่ผักสดลงไปในกล่อง
รวมกับอาหารที่ปรุงสุกแล้ว ควรบรรจุผักสดไว้ในถุงพลาสติก
หรือห่อด้วยกระดาษไข และแยกออกจากกล่อง
เพื่อป้องกันการถ่ายเทเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ในผักสดสู่อาหารที่ปรุงสุก
แล้ว อีกทั้งผู้ประกอบอาหาร ควรคำนึงถึงสุขลักษณะและสุขอนามัยที่ดี
ดูแลเรื่องความสะอาดของเล็บมือ ผม ผิวหนัง ใส่ผ้ากันเปื้อน และหมวกคลุมผม
ขณะประกอบอาหาร ดูแลห้องครัวให้สะอาด
มีสถานที่เก็บอาหารสดและแห้งที่คำนึงถึงความสะอาดทุกขั้นตอน
สำหรับ
ผู้บริโภค ควรยึดหลักปฏิบัติ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ
ไม่เก็บอาหารที่ปรุงแล้วไว้นานเกิน 2-4 ชั่วโมง
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการป้องกันตนเอง จากโรคอาหารเป็นพิษ
สามารถโทรศัพท์สอบถามได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
ดร.นพ.สุวิชบอก
ว่า จากการรายงานของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่าเดือน ม.ค.-ก.พ.
ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ 22,279 ราย สำหรับในเขต 7
จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. -28 ก.พ.
พบผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ 335 ราย จังหวัดที่มีผู้ป่วยสูงสุด คือ สงขลา 193
ราย
|
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น