รู้ทั้งรู้ว่าของทอดของมันของหวานไม่ดีต่อสุขภาพ แต่เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมเราจึงอดใจไม่ได้
ยกตัวอย่างเช่น วันก่อนผมไปวิ่งออกกำลังกายที่สวนสาธารณะแห่งหนึ่ง หลังจากวิ่งเสร็จผมเดินไปฝั่งตรงข้ามเพื่อทานข้าวมื้อเย็น ด้วยความตั้งใจที่จะควบคุมน้ำหนัก เมนูที่คิดไว้ในหัวจึงเป็นอาหารเบาๆ จำพวกผักผลไม้ งดแป้งและเนื้อสัตว์ เช่น สลัดผัก ต้มจืด หรือผักผักรวมมิตร เสร็จแล้วก็กะว่าจะตบท้ายด้วยโยเกิร์ต แอปเปิ้ล หรือไม่ก็นมเปรี้ยวไขมันต่ำ
ในขณะที่กำลังเดินเลือกว่าจะกินอะไรอยู่นั่นเอง กลิ่นหอมๆ และภาพชวนเย้ายวนของคอหมูย่างมันเยิ้มๆ หมูปิ้งไขมันแทรกติดไหม้นิดๆ ปีกไก่ชุบแป้งทอดจนเหลืองกรอบ ขาหมูพะโล้หนังสีน้ำตาลแวววาว และบะหมี่เส้นเหลืองๆ กับหมูกรอบราดด้วยน้ำแดงหวานข้น ก็ทำเอาผมไขว้เขว
แต่ผมก็พยายามหักห้ามใจเอาไว้ ด้วยการเตือนสติตัวเองว่า ขืนกินเอาอร่อยตามใจปากแบบเดิมๆ การวิ่งมาทั้งหมดในเย็นนี้ก็จะสูญเปล่า
เวลาผ่านไป 20 นาที รู้ตัวอีกทีข้าวขาหมู หมูปิ้ง หมูสะเต๊ะ และโค้กเย็นๆ ซาบซ่า ก็ลงไปอยู่ในท้องผมเรียบร้อย
และไหนๆ ก็เลยเถิดไปแล้ว ผมจึงตบะแตกล้างปากด้วยเฉาก๊วยนมสด และไอศกรีมกะทิไข่แข็งซะเลย
ผม คิดว่า คุณผู้อ่านหลายคนคงเคยเป็นเหมือนผม อุตส่าห์วางแผนการกินซะดิบดี แต่ทุกอย่างก็ล่มสลายเมื่อเจอกับกลิ่นหอมๆ และสีสันของอาหารจำพวกเฟรนช์ฟราย สเต๊กเนื้อชุ่มฉ่ำ แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่าหน้าชีส สปาเกตตีครีมซอส ชิบูย่าโทสต์ คัพเค้ก มาการอง ป๊อปคอร์น ข้าวเหนียวทุเรียน ไอศกรีม
ซึ่งทั้งหมดนี้ทุกคนรู้กันดีอยู่แล้วว่าไม่ดีต่อสุขภาพ แคลอรี่สูง เพิ่มความเสี่ยงโรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคความดัน
คำถามคือ ทำไมอาหารอร่อยๆ จึงมักไม่ดีต่อสุขภาพ?
ทำไมเราจึงอดใจไม่ได้?
ทำไมธรรมชาติจึงสร้างให้เราชอบของมันของทอดของหวาน?
ทำไมธรรมชาติไม่สร้างให้เราชอบกินแต่ผักกับผลไม้ เหมือนกับยีราฟ กวาง หรือนกไปเลย?
ทำไมธรรมชาติจึงช่างใจร้ายกับเรา?
คุณ หมอชัชพล เกียรติขจรธาดา เจ้าของหนังสือ pop-sci ขายดีอย่าง 500 ล้านปีของความรัก เขียนอธิบายคำตอบของคำถามดังกล่าวไว้ในบทความชื่อ Why We Like Bad Food? ในนิตยสารผู้ชายเล่มหนึ่ง
คุณหมอชัชพลบอกว่าการที่จะเข้าใจคำตอบของคำถามเหล่านี้ได้ เราต้องย้อนเวลากลับไปในจุดเริ่มต้นของเผ่าพันธุ์มนุษย์ เพื่อทำความเข้าใจก่อนว่าร่างกายของเราวิวัฒนาการมาให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อม แบบไหน และอาหารธรรมชาติของมนุษย์คืออะไร
มนุษย์ต้องการสารอาหารต่างจากสัตว์อื่นๆ เราต้องการ "ไขมัน" มากกว่าลิงสายพันธุ์อื่นๆ เพราะสมองของเราใหญ่ นอกจากนี้ ไขมันยังเป็นสารตั้งต้นสำคัญในการสร้างฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับร่างกายอีก หลายชนิด เช่น ฮอร์โมนเพศ
เราต้องการ "โปรตีน" จากเนื้อสัตว์ เพื่อเป็นพลังงานในการเติบโต และนับตั้งแต่มนุษย์วิวัฒนาการเกิดขึ้นมาบนโลกนี้เมื่อประมาณสองแสนปีที่ แล้ว เราใช้ชีวิตแบบล่าสัตว์และหาของป่ามาตลอด สัตว์ที่เรากินก็จะมีทั้งสัตว์เล็กๆ อย่างแมลงต่างๆ ไปจนถึงสัตว์ใหญ่ที่พอล่าได้
อย่างไรก็ตาม การล่าสัตว์ในวันที่เรามีแค่เท้าเปล่าและหอกก็ไม่ใช่เรื่องง่าย การได้กินเนื้อสัตว์จึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้บ่อยนัก
เช่นเดียวกับอาหารที่มีรสหวาน ริชาร์ด จอห์นสัน อายุรแพทย์โรคไต มหาวิทยาลัยโคโลราโดเดนเวอร์ บอกไว้ในนิตยสาร National Geographic ว่าความปรารถนาน้ำตาลฟรักโทสเป็นแรงกระตุ้นให้บรรพบุรษของเราดำรงชีพอยู่ได้ น้ำตาลฟรักโทสมีความจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์อย่างมากในยามที่ขาดแคลนอาหาร
แต่ทว่าในธรรมชาติน้ำตาลกลับเป็นของหายาก ผลไม้ป่าทั่วไปมักจะมีขนาดเล็ก ฝาด และไม่หวานมาก ยิ่งไปกว่านั้นบรรพบุรุษของเรายังต้องแย่งผลไม้กับลิง กระรอก ค้างคาว นก และสัตว์อื่นๆ
ส่วนเกลือซึ่งเป็นสารอาหารจำเป็นสำหรับร่างกายก็ไม่ใช่ของหาง่ายเหมือนกัน ถ้าไม่ใช่จากอาหารทะเลแล้ว มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายก็ต้องไปหาเกลือจากดินที่มีเกลือผสมอยู่ที่เรียกว่า ดินโป่ง
เมื่อเนื้อ ไขมันสัตว์ อาหารหวาน และเค็มเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกายเราแต่หากินยาก สมองของบรรพบุรุษเราจึงถูกออกแบบมาให้เราชอบกินไขมัน เนื้อสัตว์ อาหารหวานและเค็มมากเป็นพิเศษ หากมีโอกาสได้กินของประเภทดังกล่าวก็จะเลือกกินก่อน เพราะถ้าไม่กินตอนนี้ก็ไม่รู้อีกนานเท่าไหร่จะได้กินอีกครั้ง
นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงชอบกินของทอดของมันของหวานที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
จะเรียกว่า "ยิ่งหายาก ยิ่งอยากกิน" ก็ไม่ผิดนัก
คําถามต่อมาคือแล้วทำไมเราจึงหยุดกินไม่ได้?
คำตอบนั้นง่ายมากครับ เพราะว่าเรากำลัง "เสพติด" อยู่นั่นเอง
ในสมองของเราจะมีวงจรประสาทอยู่วงจรหนึ่งซึ่งเรียกว่า "วงจรโดปามีน" วงจรนี้เป็นวงจรที่จะทำให้เราและสัตว์ต่างๆ รู้สึก "อยาก" ในสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะความอยากในเรื่องที่เป็นสัญชาตญาณของการอยู่รอดและสืบทอดเผ่าพันธุ์
ถ้าเราทำอะไรก็ตามแล้ววงจรนี้ถูกกระตุ้นสมองเราก็จะจำสิ่งนั้นไว้ ทำให้เราอยากทำสิ่งนั้นซ้ำอีกเรื่อยๆ ยิ่งอะไรที่กระตุ้นวงจรนี้ได้แรง เราก็จะยิ่งอยากทำสิ่งนั้นมากขึ้นและบ่อยขึ้น
ตัวอย่างของสิ่งที่สามารถกระตุ้นให้วงจรนี้ทำงานได้ดีก็ เช่น เพศสัมพันธ์ อาหารหวาน อาหารเค็ม อาหารมัน หรือแม้กระทั่งยาเสพติดอย่างเฮโรอีนและโคเคนก็กระตุ้นผ่านตำแหน่งเดียวกัน
นี่เป็นเหตุผลทำให้เรากินไม่ยั้ง และรู้สึกอร่อย
มากไปกว่านั้น ข้ามมาที่โลกปัจจุบันที่อุตสาหกรรมอาหารมีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท นักธุรกิจหัวใสก็ได้ใช้สัญชาตญาณของมนุษย์นี้เป็นตัวหาเงินเข้ากระเป๋า พวกเขาทุ่มงบประมาณมากมายเพื่อทำการวิจัยว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้ผู้บริโภคชอบกินอาหารของบริษัทตัวเองมากๆ และทำอย่างไรให้กินครั้งแรกแล้วอยากแวะเวียนกลับมากินอีกเรื่อยๆ
คุณหมอชัชพลตั้งคำถามง่ายๆ ว่า "แค่น้ำตาล เกลือหรือไขมันเดี่ยวๆ ตัวเดียวก็สามารถกระตุ้นวงจรนี้ให้เราอยากกินซ้ำได้แล้ว ถ้ารวมสองหรือสามอย่างนี้เข้าด้วยกันจะกระตุ้นวงจรนี้มากขนาดไหน"
ใน โลกยุคหิน โอกาสที่ไขมัน เกลือ และน้ำตาลจะมารวมกันอยู่ในอาหารชนิดเดียวเป็นไปได้ยาก แต่ในโลกปัจจุบัน อาหารสามารถมีรสชาติทุกอย่างรวมกันได้ง่ายๆ ยกตัวอย่าง เช่น ป๊อปคอร์นรสคาราเมล หรือมันฝรั่งทอดกรอบรสสาหร่ายโนริ ที่ทั้งหวาน เค็ม มัน กรอบ
ความเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้สมองของเราไม่สามารถปรับตัวกับรสชาติของอาหารได้ทัน แนวโน้มการกินของเราจึงกินในปริมาณเกินความต้องการเข้าไปอีกโดยไม่รู้ตัว
โดยเฉพาะความหวานจากน้ำตาล หนังสารคดีเรื่องล่าสุด "Fed Up" พูดถึงประเด็นการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ในซูเปอร์มาร์เก็ตของสหรัฐอเมริกา อาหารมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนทั้งหมดกว่า 600,000 รายการ มีส่วนประกอบเป็นน้ำตาลในปริมาณมากเกินกำหนด
นั่นหมายความว่าเราจะถูกกระตุ้นให้อยากกินซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากน้ำตาลที่ซุกซ่อนอยู่ในอาหารแทบทุกรายการ
พอรู้แบบนี้ หลายคนคงนึกเข้าข้างตัวเองในใจว่า "ตลอดเวลาที่ผ่านที่เราอดใจไม่ไหว ไม่ใช่ความผิดของฉันสักหน่อย แต่เป็นเพราะสัญชาตญาณมนุษย์ต่างหาก!"
พูดแบบนั้นก็มีส่วนถูกครับ (เพราะผมก็คิดแบบนั้นเหมือนกัน-ฮา) ทว่า สิ่งที่เราอาจลืมคิดไปอีกอย่างก็คือ บรรพบุรุษของเราไมได้นั่งเล่นเฟซบุ๊กหรือทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา นะครับ พวกเขาอาจจะกินของหวาน ของมัน ของเค็มเยอะก็จริง แต่พวกเขาก็ออกกำลังกายด้วยการล่าสัตว์เยอะเช่นเดียวกัน
ฉะนั้น หากคุณอยากจะกินข้าวขาหมู หมูปิ้ง หมูสะเต๊ะ แฮมเบอร์เกอร์ เฟรนช์ฟราย และน้ำอัดลมแล้วละก็ อย่าลืมที่จะไปออกไปวิ่งล่าสัตว์ตามสวนสาธารณะบ่อยๆ ด้วยเช่นกัน
อันนี้ผมเตือนตัวเองนะครับ ไม่ได้ว่าคนอื่นแต่อย่างใด
ยกตัวอย่างเช่น วันก่อนผมไปวิ่งออกกำลังกายที่สวนสาธารณะแห่งหนึ่ง หลังจากวิ่งเสร็จผมเดินไปฝั่งตรงข้ามเพื่อทานข้าวมื้อเย็น ด้วยความตั้งใจที่จะควบคุมน้ำหนัก เมนูที่คิดไว้ในหัวจึงเป็นอาหารเบาๆ จำพวกผักผลไม้ งดแป้งและเนื้อสัตว์ เช่น สลัดผัก ต้มจืด หรือผักผักรวมมิตร เสร็จแล้วก็กะว่าจะตบท้ายด้วยโยเกิร์ต แอปเปิ้ล หรือไม่ก็นมเปรี้ยวไขมันต่ำ
ในขณะที่กำลังเดินเลือกว่าจะกินอะไรอยู่นั่นเอง กลิ่นหอมๆ และภาพชวนเย้ายวนของคอหมูย่างมันเยิ้มๆ หมูปิ้งไขมันแทรกติดไหม้นิดๆ ปีกไก่ชุบแป้งทอดจนเหลืองกรอบ ขาหมูพะโล้หนังสีน้ำตาลแวววาว และบะหมี่เส้นเหลืองๆ กับหมูกรอบราดด้วยน้ำแดงหวานข้น ก็ทำเอาผมไขว้เขว
แต่ผมก็พยายามหักห้ามใจเอาไว้ ด้วยการเตือนสติตัวเองว่า ขืนกินเอาอร่อยตามใจปากแบบเดิมๆ การวิ่งมาทั้งหมดในเย็นนี้ก็จะสูญเปล่า
เวลาผ่านไป 20 นาที รู้ตัวอีกทีข้าวขาหมู หมูปิ้ง หมูสะเต๊ะ และโค้กเย็นๆ ซาบซ่า ก็ลงไปอยู่ในท้องผมเรียบร้อย
และไหนๆ ก็เลยเถิดไปแล้ว ผมจึงตบะแตกล้างปากด้วยเฉาก๊วยนมสด และไอศกรีมกะทิไข่แข็งซะเลย
ผม คิดว่า คุณผู้อ่านหลายคนคงเคยเป็นเหมือนผม อุตส่าห์วางแผนการกินซะดิบดี แต่ทุกอย่างก็ล่มสลายเมื่อเจอกับกลิ่นหอมๆ และสีสันของอาหารจำพวกเฟรนช์ฟราย สเต๊กเนื้อชุ่มฉ่ำ แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่าหน้าชีส สปาเกตตีครีมซอส ชิบูย่าโทสต์ คัพเค้ก มาการอง ป๊อปคอร์น ข้าวเหนียวทุเรียน ไอศกรีม
ซึ่งทั้งหมดนี้ทุกคนรู้กันดีอยู่แล้วว่าไม่ดีต่อสุขภาพ แคลอรี่สูง เพิ่มความเสี่ยงโรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคความดัน
คำถามคือ ทำไมอาหารอร่อยๆ จึงมักไม่ดีต่อสุขภาพ?
ทำไมเราจึงอดใจไม่ได้?
ทำไมธรรมชาติจึงสร้างให้เราชอบของมันของทอดของหวาน?
ทำไมธรรมชาติไม่สร้างให้เราชอบกินแต่ผักกับผลไม้ เหมือนกับยีราฟ กวาง หรือนกไปเลย?
ทำไมธรรมชาติจึงช่างใจร้ายกับเรา?
คุณ หมอชัชพล เกียรติขจรธาดา เจ้าของหนังสือ pop-sci ขายดีอย่าง 500 ล้านปีของความรัก เขียนอธิบายคำตอบของคำถามดังกล่าวไว้ในบทความชื่อ Why We Like Bad Food? ในนิตยสารผู้ชายเล่มหนึ่ง
คุณหมอชัชพลบอกว่าการที่จะเข้าใจคำตอบของคำถามเหล่านี้ได้ เราต้องย้อนเวลากลับไปในจุดเริ่มต้นของเผ่าพันธุ์มนุษย์ เพื่อทำความเข้าใจก่อนว่าร่างกายของเราวิวัฒนาการมาให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อม แบบไหน และอาหารธรรมชาติของมนุษย์คืออะไร
มนุษย์ต้องการสารอาหารต่างจากสัตว์อื่นๆ เราต้องการ "ไขมัน" มากกว่าลิงสายพันธุ์อื่นๆ เพราะสมองของเราใหญ่ นอกจากนี้ ไขมันยังเป็นสารตั้งต้นสำคัญในการสร้างฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับร่างกายอีก หลายชนิด เช่น ฮอร์โมนเพศ
เราต้องการ "โปรตีน" จากเนื้อสัตว์ เพื่อเป็นพลังงานในการเติบโต และนับตั้งแต่มนุษย์วิวัฒนาการเกิดขึ้นมาบนโลกนี้เมื่อประมาณสองแสนปีที่ แล้ว เราใช้ชีวิตแบบล่าสัตว์และหาของป่ามาตลอด สัตว์ที่เรากินก็จะมีทั้งสัตว์เล็กๆ อย่างแมลงต่างๆ ไปจนถึงสัตว์ใหญ่ที่พอล่าได้
อย่างไรก็ตาม การล่าสัตว์ในวันที่เรามีแค่เท้าเปล่าและหอกก็ไม่ใช่เรื่องง่าย การได้กินเนื้อสัตว์จึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้บ่อยนัก
เช่นเดียวกับอาหารที่มีรสหวาน ริชาร์ด จอห์นสัน อายุรแพทย์โรคไต มหาวิทยาลัยโคโลราโดเดนเวอร์ บอกไว้ในนิตยสาร National Geographic ว่าความปรารถนาน้ำตาลฟรักโทสเป็นแรงกระตุ้นให้บรรพบุรษของเราดำรงชีพอยู่ได้ น้ำตาลฟรักโทสมีความจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์อย่างมากในยามที่ขาดแคลนอาหาร
แต่ทว่าในธรรมชาติน้ำตาลกลับเป็นของหายาก ผลไม้ป่าทั่วไปมักจะมีขนาดเล็ก ฝาด และไม่หวานมาก ยิ่งไปกว่านั้นบรรพบุรุษของเรายังต้องแย่งผลไม้กับลิง กระรอก ค้างคาว นก และสัตว์อื่นๆ
ส่วนเกลือซึ่งเป็นสารอาหารจำเป็นสำหรับร่างกายก็ไม่ใช่ของหาง่ายเหมือนกัน ถ้าไม่ใช่จากอาหารทะเลแล้ว มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายก็ต้องไปหาเกลือจากดินที่มีเกลือผสมอยู่ที่เรียกว่า ดินโป่ง
เมื่อเนื้อ ไขมันสัตว์ อาหารหวาน และเค็มเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกายเราแต่หากินยาก สมองของบรรพบุรุษเราจึงถูกออกแบบมาให้เราชอบกินไขมัน เนื้อสัตว์ อาหารหวานและเค็มมากเป็นพิเศษ หากมีโอกาสได้กินของประเภทดังกล่าวก็จะเลือกกินก่อน เพราะถ้าไม่กินตอนนี้ก็ไม่รู้อีกนานเท่าไหร่จะได้กินอีกครั้ง
นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงชอบกินของทอดของมันของหวานที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
จะเรียกว่า "ยิ่งหายาก ยิ่งอยากกิน" ก็ไม่ผิดนัก
คําถามต่อมาคือแล้วทำไมเราจึงหยุดกินไม่ได้?
คำตอบนั้นง่ายมากครับ เพราะว่าเรากำลัง "เสพติด" อยู่นั่นเอง
ในสมองของเราจะมีวงจรประสาทอยู่วงจรหนึ่งซึ่งเรียกว่า "วงจรโดปามีน" วงจรนี้เป็นวงจรที่จะทำให้เราและสัตว์ต่างๆ รู้สึก "อยาก" ในสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะความอยากในเรื่องที่เป็นสัญชาตญาณของการอยู่รอดและสืบทอดเผ่าพันธุ์
ถ้าเราทำอะไรก็ตามแล้ววงจรนี้ถูกกระตุ้นสมองเราก็จะจำสิ่งนั้นไว้ ทำให้เราอยากทำสิ่งนั้นซ้ำอีกเรื่อยๆ ยิ่งอะไรที่กระตุ้นวงจรนี้ได้แรง เราก็จะยิ่งอยากทำสิ่งนั้นมากขึ้นและบ่อยขึ้น
ตัวอย่างของสิ่งที่สามารถกระตุ้นให้วงจรนี้ทำงานได้ดีก็ เช่น เพศสัมพันธ์ อาหารหวาน อาหารเค็ม อาหารมัน หรือแม้กระทั่งยาเสพติดอย่างเฮโรอีนและโคเคนก็กระตุ้นผ่านตำแหน่งเดียวกัน
นี่เป็นเหตุผลทำให้เรากินไม่ยั้ง และรู้สึกอร่อย
มากไปกว่านั้น ข้ามมาที่โลกปัจจุบันที่อุตสาหกรรมอาหารมีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท นักธุรกิจหัวใสก็ได้ใช้สัญชาตญาณของมนุษย์นี้เป็นตัวหาเงินเข้ากระเป๋า พวกเขาทุ่มงบประมาณมากมายเพื่อทำการวิจัยว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้ผู้บริโภคชอบกินอาหารของบริษัทตัวเองมากๆ และทำอย่างไรให้กินครั้งแรกแล้วอยากแวะเวียนกลับมากินอีกเรื่อยๆ
คุณหมอชัชพลตั้งคำถามง่ายๆ ว่า "แค่น้ำตาล เกลือหรือไขมันเดี่ยวๆ ตัวเดียวก็สามารถกระตุ้นวงจรนี้ให้เราอยากกินซ้ำได้แล้ว ถ้ารวมสองหรือสามอย่างนี้เข้าด้วยกันจะกระตุ้นวงจรนี้มากขนาดไหน"
ใน โลกยุคหิน โอกาสที่ไขมัน เกลือ และน้ำตาลจะมารวมกันอยู่ในอาหารชนิดเดียวเป็นไปได้ยาก แต่ในโลกปัจจุบัน อาหารสามารถมีรสชาติทุกอย่างรวมกันได้ง่ายๆ ยกตัวอย่าง เช่น ป๊อปคอร์นรสคาราเมล หรือมันฝรั่งทอดกรอบรสสาหร่ายโนริ ที่ทั้งหวาน เค็ม มัน กรอบ
ความเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้สมองของเราไม่สามารถปรับตัวกับรสชาติของอาหารได้ทัน แนวโน้มการกินของเราจึงกินในปริมาณเกินความต้องการเข้าไปอีกโดยไม่รู้ตัว
โดยเฉพาะความหวานจากน้ำตาล หนังสารคดีเรื่องล่าสุด "Fed Up" พูดถึงประเด็นการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ในซูเปอร์มาร์เก็ตของสหรัฐอเมริกา อาหารมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนทั้งหมดกว่า 600,000 รายการ มีส่วนประกอบเป็นน้ำตาลในปริมาณมากเกินกำหนด
นั่นหมายความว่าเราจะถูกกระตุ้นให้อยากกินซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากน้ำตาลที่ซุกซ่อนอยู่ในอาหารแทบทุกรายการ
พอรู้แบบนี้ หลายคนคงนึกเข้าข้างตัวเองในใจว่า "ตลอดเวลาที่ผ่านที่เราอดใจไม่ไหว ไม่ใช่ความผิดของฉันสักหน่อย แต่เป็นเพราะสัญชาตญาณมนุษย์ต่างหาก!"
พูดแบบนั้นก็มีส่วนถูกครับ (เพราะผมก็คิดแบบนั้นเหมือนกัน-ฮา) ทว่า สิ่งที่เราอาจลืมคิดไปอีกอย่างก็คือ บรรพบุรุษของเราไมได้นั่งเล่นเฟซบุ๊กหรือทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา นะครับ พวกเขาอาจจะกินของหวาน ของมัน ของเค็มเยอะก็จริง แต่พวกเขาก็ออกกำลังกายด้วยการล่าสัตว์เยอะเช่นเดียวกัน
ฉะนั้น หากคุณอยากจะกินข้าวขาหมู หมูปิ้ง หมูสะเต๊ะ แฮมเบอร์เกอร์ เฟรนช์ฟราย และน้ำอัดลมแล้วละก็ อย่าลืมที่จะไปออกไปวิ่งล่าสัตว์ตามสวนสาธารณะบ่อยๆ ด้วยเช่นกัน
อันนี้ผมเตือนตัวเองนะครับ ไม่ได้ว่าคนอื่นแต่อย่างใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น