NCDs โรคร้ายข้างกายที่เราสร้างเอง
NCDs โรคร้ายข้างกายที่เราสร้างเอง
NCDs : โรคร้ายที่เราสร้างเอง (สสส.)
เรื่องโดย : ฉัตร์ชัย นกดี Team Content www.thaihealth.or.th
NCDs ชื่อนี้คือโรคไม่ติดต่อที่เป็นแล้วป่วยเรื้อรัง และเป็นโรคอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิตคนทั่วโลก ทั้งหมดทั้งมวลเกิดจากพฤติกรรมของเรานี่เอง
การใช้ชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบัน เปรียบเหมือนทางด่วนที่ก่อให้เกิดโรคร้ายได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว เพราะการดำเนินชีวิตประจำวันที่คุ้นเคยหลายอย่าง ล้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่สมดุล ทั้งเรื่องการกิน การนอน การออกกำลังกาย และการทำงาน
นายแพทย์ทักษพล ธรรมรังสี ผู้จัดการแผนงานเครือข่ายควบคุมโรคไม่ติดต่อ กล่าวว่า "โรค NCDs" ย่อมาจากคำว่า Non-communicable diseases หมายถึง กลุ่มโรคไม่ติดต่อ ที่ไม่สามารถแพร่กระจายโรคจากคนสู่คนได้ โดยทั่วไปอาจเรียกว่า กลุ่มโรคเรื้อรัง ซึ่งหมายถึงโรคที่เกิดต่อเนื่องยาวนาน และมีการดำเนินของโรคเป็นไปอย่างช้า ๆ ซึ่งแตกต่างจากโรคติดเชื้อส่วนใหญ่ ที่มักมีการดำเนินโรคอย่างรวดเร็ว
กลุ่มโรค NCDs ที่สำคัญประกอบด้วย 4 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด (รวมถึงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง)
2. กลุ่มโรคเบาหวาน
3. กลุ่มโรคมะเร็ง
และ 4. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง (รวมถึงโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคหอบหืด)
"โรค NCDs จัดเป็นฆาตกรอันดับหนึ่ง ที่คร่าชีวิตประชากรโลกมากกว่าสาเหตุการตายอื่น ๆ ทุกสาเหตุรวมกัน มากถึง 36.2 ล้านคนต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 66% ของการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมดในปี 2554 ขณะที่ในประเทศไทย กลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึงประมาณ 3.1 แสนคน หรือ ร้อยละ 73 ของการเสียชีวิตของประชากรไทยทั้งหมดในปี 2552"
ผู้จัดการแผนงานเครือข่ายควบคุมโรคไม่ติดต่อ กล่าวว่า
นอกจากผลกระทบทางด้านสุขภาพแล้ว โรค NCDs ยังส่งผลกระทบต่อสังคม
โดยมีข้อมูลยืนยันว่า
เป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย
โดยเฉพาะด้านคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์
โดยโรค NCDs
ทำให้ประชากรเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
เกิดการสูญเสียศักยภาพในการประกอบอาชีพ
และผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยและโรคแทรกซ้อน
โดยนอกจากจะเพิ่มภาระแก่คนรอบข้างแล้ว ยังสร้างภาระแก่สังคมโดยรวม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
มูลค่าของค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพในแต่ละปีที่มีมูลค่ามหาศาลความเชื่อว่าเป็นโรคของคนแก่
นายแพทย์ทักษพล กล่าวต่อไปอีกว่า โดยทั่วไปมักมีความเข้าใจกันว่าโรค NCDs เป็นโรคของผู้สูงอายุ แต่จากข้อมูลพบว่า ประมาณ 1 ใน 4 ของการตายด้วยโรค NCDs พบว่าเป็นการเสียชีวิต ก่อนอายุ 60 ปี อาการของโรคที่เกิดขึ้นตอนสูงอายุ มักเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงสะสม ในช่วงวัยหนุ่มสาว เหมือนเราสะสมดินระเบิดเอาไว้เรื่อย ๆ ซักวันมันก็ต้องระเบิดออกมา
ความเชื่อว่าเป็นโรคของคนรวย
เนื่องจากสาเหตุของโรค NCDs มักเกี่ยวข้องกับการกินอยู่และวิถีชีวิต ส่วนใหญ่จึงเชื่อว่าโรคเหล่านี้ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน มักเป็นโรคของความอยู่ดีกินดี และมักเกิดขึ้นเฉพาะกับคนในสังคมเมือง หรือคนรวยเท่านั้น ซึ่งในควมเป็นจริง คนยากจนเสี่ยงต่อการเป็นโรค NCDs มากกว่าคนรวย เพราะมีพฤติกรรมสุขภาพที่เสี่ยงมากกว่า เช่น การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เป็นต้น
ที่สำคัญเมื่อเป็นโรคแล้ว คนยากจนจะมีความสามารถในการดูแลรักษาสุขภาพที่น้อยกว่า จึงมักควบคุมอาการไม่ได้และเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้มากกว่า
ผู้ จัดการแผนงานเครือข่ายควบคุมโรคไม่ติดต่อ กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากโรค NCDs มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพต่าง ๆ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา กินอาหารหวาน มัน เค็ม และการขาดการออกกำลังกาย
ดังนั้น การจัดการวิกฤต โรค NCDs และปัจจัยเสี่ยงหลัก จึงเป็นเรื่องที่ภาครัฐและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรมีหน้าที่จัดการสิ่งแวดล้อมในสังคม ทั้งทางกายภาพและทางวัฒนธรรม เอื้อต่อพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพง่ายขึ้น เช่น การควบคุมการขายและการทำการตลาดของสินค้าทำลายสุขภาพ หรือสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายมากขึ้น เป็นต้น
แม้ว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตที่เราเคยปฏิบัติกันมาจนเคยชิน จะสามารถทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้มากมาย แต่วิธีป้องกันและลดความเสี่ยงก็ทำได้ไม่ยาก เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตให้มีความสมดุล และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น