วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

กินข้าวเหนืยว หมูปิ้ง อย่างไร ? ให้ไกลจากโรคมะเร็ง

ในยามเช้าที่เร่งรีบนั้น หลายคนเลือกที่จะรับประทานข้าวเหนียว หมูปิ้ง เป็นอาหารมื้อเช้า เพราะว่าทั้งสะดวก หาซื้อง่าย รับประทานง่ายไม่เสียเวลา ใน ข้าวเหนียวนั้น จะมีกลูเตน (Gluten) หรือไฟเบอร์เยอะกว่าข้าวขัดในโจ๊ก มีธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก มีสรรพคุณในการสร้างเม็ดเลือด ทำให้เม็ดเลือดสมบูรณ์ นอกจากนี้ข้าวเหนียวยังอุดมไปด้วยวิตามินอี มีสรรพคุณ ช่วยป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ ป้องกันปัญหาวุ้นนัยน์ตาเสื่อมได้อีกด้วย หากถ้าเป็นข้าวเหนียวดำ ก็จะมี โอพีซี (OPC) มีสรรพคุณช่วยชะลอการแก่ก่อนวัย และความเสื่อม ถอยของร่างกายได้อีกด้วย
ข้าวเหนียว หมูปิ้ง
ข้าวเหนียว หมูปิ้ง

แต่รู้หรือไม่ว่า หมูปิ้ง ที่เรารับประทานกันอยู่ทุกๆวันนี้ มีสารก่อมะเร็งอยู่
หมูปิ้ง ที่เราเห็นกันทั่วไป ในหนึ่งไม้นั้นจะมีการเสียบมันหมูเอาไว้ด้วย นี่แหละเป็นหนึ่งในตัวการก่อสารมะเร็ง ที่ชื่อว่า PAH (Polycyclic aromatic hydrocarbon) ที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของสารอินทรีย์ เช่น ไขมันที่อยู่ในเนื้อสัตว์ น้ำมัน และไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่นๆ ดังนั้นจึงพบสารชนิดนี้ในส่วนที่ไหม้เกรียมของ หมูปิ้ง และนอกจากนี้ยังพบสาร PAH คล้ายคลึงกับการเผาไหม้ในเครื่องยนต์ บุหรี่ และเตาเผาเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมอีกด้วย พูด ง่ายๆคือ การที่นำหมูที่มีมันไปปิ้งบนเตาถ่าน จะทำให้ไขมันในหมูละลายและหยดลงไปในถ่าน เกิดเป็นควันที่มีสาร PAH อยู่และลอยมาเกาะติดที่ หมูปิ้ง โดยส่วนมากสารนี้จะอยู่ในส่วนที่ไหม้เกรียมของ หมูปิ้ง
คำแนะนำในการรับประทานข้าวเหนียว หมูปิ้ง
เลือกซื้อ หมูปิ้ง ร้านที่ไม่มีมันหมูติดอยู่ และไม่ปิ้งจนเกิดส่วนที่ไหม้เกรียมซึ่งเป็นส่วนที่รวมสารก่อมะเร็งอยู่ และไม่ควรรับประทานหมูปิ้งมากจนเกินไป ควรรับประทานอย่างอื่นเป็นมื้อเช้าบ้าง เพราะหากรับประทานทุกวัน สารก่อมะเร็งที่อยู่ใน หมูปิ้ง ก็จะสะสมอยู่ในร่างกายเรา เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้
คำแนะนำสำหรับการทำอาหารปิ้งย่างให้ปลอดภัยจากมะเร็ง
  1. ก่อนปิ้งย่างเนื้อสัตว์ที่ติดมัน ควรติดส่วนที่เป็นส่วนของไขมันออกก่อน เพื่อลดไขมันที่จะหยดลงบนถ่าน
  2. อาหารที่จะนำมาปิ้งย่าง รมควัน ควรเลือกในลักษณะที่มีไขมันติดอยู่น้อยที่สุด
  3. นำ เข้าเตาไมโครเวฟ 1-2 นาที จะพบว่ามีน้ำจากเนื้อสัตว์ออกมา ให้เทน้ำนั้นทิ้งแล้วจึงนำไปปิ้งย่าง ซึ่งครีอะตินีนจะออกมากับน้ำดังกล่าว เมื่อครีอะตินีนลดลง การเกิด Heterocyclic amine ก็จะน้อยลง
  4. ไม่ควรปิ้งย่างด้วยไฟแรงบนเตา ใช้ไฟอ่อนๆ และควรให้ระยะห่างจากเตามากขึ้น หรือใช้อะลูมินั่ม ฟรอยด์ ห่อก่อนการปิ้งย่าง
  5. ผู้ ที่มีอาชีพในการปิ้งย่างอาหารขาย ควรติดตั้งพัดลมในครัวเพื่อขจัดควัน เป็นการลดความเสี่ยงอันตรายที่จะเกิดจากการสูดดมสาร PAH และ Heterocyclic amine เข้าสู่ร่างกาย
  6. การใช้ใบตองห่ออาหารก่อนที่จะปิ้งย่าง เป็นการลดปริมาณหยดไขมันที่จะหยดลงบนถ่าน และทำให้อาหารมีกลิ่นหอมของใบตองด้วย
  7. ลดหรือหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีการเติม เกลือไนเตรตและเกลือไนไตรต์
  8. เนื้อ สัตว์ที่ผ่านการแปรรูปแล้ว เช่น เนื้อเค็ม เนื้อแห้ง หมูแห้ง ปลาเค็ม หมูเค็ม ปลาแห้ง กุนเชียง ควรจะเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อช่วยรักษาสภาพของเนื้อสัตว์ และลดการเกิดสาร secondary amine
  9. ควรบริโภคผักและผลไม้เป็นประจำทุกวัน เพื่อทำให้ระบบการขับถ่ายและการขจัดของเสียออกจากร่างกายได้ทำงานอย่างมี ประสิทธิภาพ มีการศึกษาพบว่าถ้ามีการกินผลไม้ เช่น ส้ม ฝรั่ง ไปพร้อมๆ กันในมื้ออาหารก็จะช่วยลดการเกิดสารประกอบไนโตรซามีน ขึ้นในกระเพาะอาหารได้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นผลมาจากวิตามินซีในผลไม้ที่จะช่วยลดการเกิดสารประกอบ ไนโตรซามีนในร่างกาย
  10. หลีกเลี่ยงการสูดดมควัน จากแหล่งต่างๆ เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และโรคทางระบบทางเดินหายใจ
  11. หันมาใช้เตาไฟฟ้า (ไร้ควัน) ซึ่งสามารถควบคุมระดับความร้อนได้มากกว่าการใช้เตาถ่าน
  12. สิ่งที่สำคัญที่สุด หลังปิ้งย่างเสร็จแล้ว ควรหั่นส่วนที่ไหม้เกรียมออกให้มากที่สุด ก่อนนำไปรับประทาน
 ขอบคุณที่มาจาก : ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา
www.l3nr.org/posts/455245
เรียบเรียงโดย health.mthai.com

ไม่มีความคิดเห็น: