วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ความจริง เรื่องการใช้ผ้าอนามัยต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก

ความจริง!!!เรื่องการใช้ผ้าอนามัยต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก

ผ้าอนามัย1-1-vert
 
          จากที่ได้มีการอ้างอิงเรื่องการเปลี่ยนผ้าอนามัยช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็ง ปากมดลูกจากเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข ทางเว็บไซต์วิชาการ.คอม กลับไม่พบข้อมูลอ้างอิงดังกล่าว มีเพียงข้อมูลจากบทความเรื่อง
"ผ้าอนามัย" ซึ่งเขียนโดย
กลุ่มทดสอบทางชีววิทยาและความปลอดภัย กองเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย ดังนี้ค่ะ
"ผ้าอนามัย" sanitary towel (U.K) หรือ sanitary napkin (U.S) หมายถึง แผ่นซับใช้แล้วทิ้ง สำหรับสตรีใช้ซับเลือดประจำเดือน ทั้งนี้ไม่รวมถึง incontinence pads ซึ่งใช้โดยผู้หญิงที่มีปัญหาการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ ผ้าอนามัยชนิดสอดไม่เป็นที่นิยมใช้ ส่วนผ้าอนามัยชนิดที่ใช้ภายนอกซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า maxi pad ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลก เป็นแผ่นทำด้วยวัสดุที่มีคุณลักษณะซึมซับได้ดี หุ้มด้วยผ้าสำลี (quilted cotton)

Maxi pad แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
      1. Ultra thin (ชนิดบาง) ซึ่งเป็นทีนิยมของวัยรุ่น
      2. Maxi (ชนิดหนา) ดูดซับได้มากกว่า และแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
1. Regular (ปกติ) สำหรับการไหลของเลือดประจำเดือนปานกลาง
2. Super (พิเศษ) สำหรับการไหลของเลือดประจำเดือนมากกว่าปกติ และมีปัญหาทำให้เปรอะเปื้อนที่ด้านหน้าและ ด้านหลังของกางเกงใน
3. Overnight ออกแบบมาสำหรับดูดซับเลือดประจำเดือนที่ไหลรินออกมาขณะนอนหลับ
Maxi ทั้ง 3 แบบ มีการเพิ่มรูปลักษณะให้มีปีก เพื่อการป้องกันได้สูงสุด เป็นการเพิ่มกาวเพื่อยึดแผ่นผ้าอนามัยให้ติดแน่นกับกางเกงใน คุณลักษณะอื่นคือดับกลิ่น (deodorant) โดยการใส่น้ำหอมในแผ่นผ้าอนามัยเพื่อดับกลิ่นเลือดประจำเดือนมีการใช้โลชั่น ที่มีส่วนผสมของ chitosan material ซึ่งมีขนาด particle มากกว่าประมาณ 250 ไมครอน ไม่เกิน ร้อยละ 1 ใส่ใน ผ้าอนามัยเพื่อต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์และลดกลิ่นแผ่นผ้าอนามัยใช้ได้นาน 6 ชั่วโมง บางครั้งอาจใช้ได้ 4-8 ชั่วโมง ขึ้นกับคุณภาพในการดูดซับและการไหลของเลือดประจำเดือน ผ้าอนามัยที่ใช้แล้ว ให้ห่อด้วยกระดาษชำระ และทิ้งในถังขยะ อย่าทิ้งในโถส้วม เพราะจะทำให้ส้วมอุดตัน
          นอกเหนือจากแผ่นผ้าอนามัย ยังมีผลิตภัณฑ์เรียกว่า pantiliners หรือ แผ่นอนามัย มีลักษณะเป็นแผ่นบางขนาดเล็กใช้ดูดซับของเหลว ที่ไหลออกมาทางช่องคลอดเป็นประจำทุกวัน หรืออาจใช้ในวันที่ประจำเดือนกำลังจะหมด หรือใช้เป็น backup (แผ่นกัน) สำหรับผู้ที่ใช้ผ้าอนามัยชนิดสอด แผ่นอนามัยช่วยให้สตรีรู้สึกสดชื่น และแห้งไม่ว่าจะเป็นวันใดในแต่ละเดือน

 
health care and medicine - white tampons on blue background 201301250214572
 
                                 ผ้าอนามัยแบบสอด                    ผ้าอนามัยแบบ Maxi pad
 
          ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 10 ) พ. ศ. 2535 เรื่อง ผ้าอนามัย กำหนดให้ผ้าอนามัยเป็นเครื่องสำอาง ควบคุมและจำแนกผ้าอนามัยออกเป็น 2 ประเภท
1. ผ้าอนามัยชนิดที่ใช้ภายนอก หมายความว่า ผ้าอนามัยที่ใช้รองรับเลือดประจำเดือน (ระดู) ซึ่งมิได้สอดใส่เข้าใน ช่องคลอด ในการผลิตต้องผ่านการทำให้สะอาดและถูกสุขลักษณะมีคุณสมบัติทางจุลชีววิทยา ตามมาตรฐานที่กำหนดดังนี้
           แบคทีเรียทั้งหมด        น้อยกว่า   1000 โคโลนี/กรัม
           ยีสต์และรา            น้อยกว่า    100  โคโลนี/กรัม
           ปรีซัมป์ตีฟ โคลิฟอร์ม    น้อยกว่า    100  โคโลนี/กรัม
           ฟีคัล โคไล            ต้องไม่พบ

2. ผ้าอนามัยชนิดสอด หมายความว่า ผ้าอนามัยที่ใช้สอดใส่เข้าในช่องคลอด เพื่อดูดซับเลือดประจำเดือน (ระดู) ในการผลิตต้องผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์และระบุคำว่า " ปลอดเชื้อ" ไว้ในฉลาก


อาการข้างเคียงจากการใช้ผ้าอนามัย
► ผิวหนังอักเสบ (dermatitis หรือที่เรียกกันว่า eczema) คือการระคายเคืองของผิวหนังสังเกตจำผิวหนังมีสีแดง ตกสะเก็ด บางทีผิวแตก หรือเป็นตุ่มพอง มักมีอาการคันอย่างรุนแรง แต่การเกาทำให้เกิดอันตรายต่อผิวที่เปราะบาง และทำให้ขยายลุกลามมากขึ้น
► ผิวหนังอักเสบเนื่องจากการสัมผัส (contact dermatitis associated with the use of sanitary napkins) มีรายงานในวารสารสมาคมการแพทย์ของประเทศแคนาดา ในปี 1996 จากการติดตามระหว่าง กันยายน 1991 และสิงหาคม 1994 ที่กรุงมอนทรีออล ในคนไข้หญิงที่มีอาการคันหรือแสบไหม้ บริเวณที่สัมผัสกับผ้าอนามัยยี่ห้อหนึ่งโดยเกิดขึ้นอย่างน้อย 1 วัน หลังจากเริ่มใช้ผ้าอนามัย และอาการหายไปภายในไม่เกินกว่า 5 วัน หลังจากใช้ผ้าอนามัย
พบคนไข้หญิง 28 คน มีอาการคันอวัยวะเพศและแสบไหม้ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดผื่นจากผิว หนังอักเสบจากการสัมผัส หลังจากใช้ผ้าอนามัย คนไข้หญิง 26 คน รายงานว่าอาการดังกล่าวหายไป หลังจากหยุดใช้ผ้าอนามัยยี่ห้อนั้น และมีคนไข้หญิง 7 คน ที่กลับมาใช้ผ้าอนามัยยี่ห้อเดิมเกิดอาการระคายเคืองอวัยวะเพศ สรุปได้ว่า ผ้าอนามัยยี่ห้อที่ศึกษามีส่วนทำให้เกิดอาการปากช่องคลอดอักเสบ (vulvitis) กลับมาอีก

 
woman cover her bikini zone
 
คำแนะนำการใช้ผ้าอนามัย
      1. เวลาซื้อควรดูลักษณะของภาชนะบรรจุ ควรปิดสนิทและไม่มีกลิ่นอับชื้น
      2. เมื่อเปิดใช้แล้ว ควรปิดกล่องหรือภาชนะบรรจุให้เรียบร้อย  เก็บไว้ในที่มิดชิดเพื่อป้องกันฝุ่นและแมลง ผ้าอนามัยที่เปิดกล่องใช้เหลือเก็บไว้นานๆ ไม่ควรเอามาใช้
      3. ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแต่ละชิ้นนานเกินควร (ประมาณ 8  ชั่วโมง) โดยเฉพาะผ้าอนามัยชนิดสอดต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่าลืมทิ้งไว้ในช่องคลอด อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเกิดกลุ่มอาการเป็นพิษ เนื่องจากได้รับสารพิษ (Toxin) จากเชื้อแบคทีเรียพวกสตาฟีโลคอคคัส (Staphylococcus spp.) มีอาการปวดศีรษะ มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า ทอกซิค ชอคซินโดรม (Toxic Shock Syndrome)
      4. เมื่อใช้แล้วเกิดอาการผิดปกติ เช่น แพ้ คัน หรือ เกิดการระคายเคือง ควรเปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่น

 
จะเห็นได้ว่าบท ความข้างต้นไม่ได้มีการกล่าวอ้างถึงการเกิดมะเร็งปากมดลูกแม้เต่น้อย นอกจากนี้เมื่อศึกษาข้อมูลจากแหล่งอื่นๆที่มีความน่าเชื่อถือพบว่า
   มะเร็ง ปากมดลูกนั้นมีสาเหตุสำคัญมาจากการติดเชื้อไวรัส 99.7% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งจะตรวจพบไวรัสชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เอชพีวี (Human Papillomavirus
 
HPV
      แสดงรูปจำลองของเชื้อ Human Papillomavirus สาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก
 
          ไวรัสเอชพีวี (HPV) ที่มาของการเกิดมะเร็งปากมดลูก "มะเร็งปากมดลูก" ไม่ได้เกิดจากกรรมพันธุ์ แต่มีสาเหตุสำคัญมาจากการติดเชื้อไวรัส สาเหตุของโรคร้ายนี้ และได้ค้นพบว่า ประมาณ 99.7% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก จะตรวจพบไวรัสชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เอชพีวี (Human Papillomavirus) ตัวเชื้อไวรัสเองนั้น ก็มีหลายสายพันธุ์เหมือนๆ กับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอื่นๆ ซึ่งส่วนมากจะไม่เป็นอันตราย ไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ และมักจะหายไปได้เองตามระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แต่ในจำนวนนี้มีประมาณ 30 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นชนิดที่เกิดการติดเชื้อในบริเวณอวัยะเพศของหญิงและชายปัจจุบันพบว่า การติดเชื้อ HPV ของประชากรทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 630 ล้านคน โดยการติดเชื้อ HPV จะพบบ่อยที่สุดในผู้หญิงวัยเยาว์ที่มีอายุระหว่าง 18 – 28 ปี หรือผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ทำให้เรามักจะพบว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่จะมีอายุในช่วง 35 – 50 ปี สืบเนื่องจากระยะเวลาของการติดเชื้อจน กระทั่งป่วยเป็นโรคนี้ซึ่งใช้เวลานานนับ 10 ปี
• เชื้อ Human Papillomavirus หรือที่เรารู้จักกันดีว่า เชื้อ HPV เป็นต้นเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ชนิดก่อมะเร็ง
• ปัจจุบันพบว่าเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และสายพันธุ์ 18 เป็น 2 สายพันธุ์ที่พบได้บ่อยในมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 พบมากเป็นอันดับ 1 โดยพบได้ประมาณร้อยละ 50-55 และเชื้อ HPV สายพันธุ์ 18 พบได้มากเป็นอันดับ 2 ประมาณร้อยละ 15-20
• ข้อมูลทางการแพทย์ยังพบว่า เชื้อ HPV สายพันธุ์ 18 พบได้บ่อยที่สุดในมะเร็งปากมดลูกชนิดเซลล์ต่อม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้น
• มะเร็งชนิดเซลล์ต่อมเป็นมะเร็งที่มีโอกาสวินิจฉัยผิดพลาดได้สูงด้วยการตรวจแปปสเมียร์เพียงอย่างเดียว
• ปัจจุบันสมาคมแพทย์ ASCCP (American Society of Colposcopy and Cervical Pathology) ในสหรัฐอเมริการับรองการใช้การตรวจหาเชื้อ HPV ร่วมกับแปปสเมียร์ เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ซึ่งจะช่วยเพิ่มความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
 
ปัจจัยสำคัญของมะเร็งปากมดลูกเท่าที่วิทยาการทางการแพทย์ตรวจพบได้ในปัจจุบันคือ 
   การ ติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแพปพิลโลมาหรือเชื้อเอชพีวีบริเวณอวัยวะเพศ โดยเฉพาะบริเวณปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อไวรัสเอชพีวีหรือเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ ง่ายขึ้น ได้แก่ การมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย หรือการตั้งครรภ์เมื่ออายุน้อย เป็นต้น ปัจจัยนอกจากนี้เป็นเพียงปัจจัยส่งเสริมหรือปัจจัยร่วมที่ทำให้การติดเชื้อ เอชพีวีคืบหน้ารุนแรงขึ้นจนเป็นมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยร่วมเหล่านี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปากมดลูก หรือทำให้เป็นมะเร็งปากมดลูกได้สูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสตรีที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่
 
200477529-002
 
1. ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายหญิง
- การมีคู่นอนหลายคน ความเสี่ยงสูงขึ้นตามจำนวนคู่นอนที่เพิ่มขึ้น
- การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อยกว่า 17 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีการกลายรูปของเซลล์ปากมดลูกมาก ช่วงนี้จะมีความไวต่อสาร   ก่อมะเร็งสูงมากโดยเฉพาะเชื้อเอชพีวี
- การตั้งครรภ์และการคลอดลูก จำนวนครั้งของการคลอดลูกมากกว่า 4 ครั้ง มีความเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น 2-3   เท่า
- มีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เริม ซิฟิลิส และหนองใน เป็นต้น
- การรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานๆ ถ้านานกว่า 5 ปี และ 10 ปี จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น 1.3 เท่า และ 2.5     เท่า ตามลำดับ

- ไม่เคยได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมาก่อน

 
2. ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายชาย เนื่องจากส่วนใหญ่ของการติดเชื้อเอชพีวีบริเวณอวัยวะเพศได้มาจากการมีเพศ สัมพันธ์ จึงกล่าวได้ว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่มีเชื้อเอชพีวี (ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ชายจะไม่มีอาการหรือตรวจไม่พบเชื้อ) แม้เพียงครั้งเดียวก็มีโอกาสติดเชื้อเอชพีวีและเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายชายได้แก่ 
- สตรีที่มีสามีเป็นมะเร็งองคชาติ
- สตรีที่แต่งงานกับชายที่เคยมีภรรยาเป็นมะเร็งปากมดลูก
- ผู้ชายที่เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ผู้ชายที่มีประสบการณ์ทางเพศตั้งแต่อายุน้อย
- ผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน
 
3. ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ส่งเสริมให้เป็นมะเร็งปากมดลูกได้ง่ายหรือเร็วขึ้นได้แก่
- การสูบบุหรี่
- ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น โรคเอดส์ และการได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
- สตรีที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ

23289
 
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 
ความ สำเร็จจากการค้นพบสาเหตุและวิทยาการของการแพทย์สมัยใหม่ ได้นำมาสู่การพัฒนาเป็นวัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ (6,11,16,18) ที่ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70% ในส่วนที่เป็นผลมาจากการติดเชื้อ เอชพีวีสายพันธุ์ที่สำคัญ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US. FDA) ได้ให้การรับรองว่า วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกนี้ มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากเชื้อเอชพีวีสาย พันธุ์หลักเหล่านั้น ได้ 100% ถ้าหากได้รับวัคซีนก่อนที่จะมีการติดเชื้อ นอกจากนี้ วัคซีนดังกล่าวยังสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีชนิดที่ไม่มีผลต่อการเกิด มะเร็ง แต่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศได้อีกด้วย
          จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกนั้นแท้จริงก็คือเชื้อไวรัส Human Papillomavirus นั่นเอง ซึ่งไม่ มีรายงานใดๆเลยที่บอกว่าผ้าอนามัยจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีโอกาสเกิด มะเร็งปากมดลูก หรือเกิดไวรัสตัวนี้ เพราะความอับชื้นจากการใช้ผ้าอนามัยทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา 
ผู้ อ่านบทความต่างๆ ควรอ่านและทำความเข้าใจให้ดีๆ ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อกันนะคะ ไม่เช่นนั้นเราจะมีความเชื่อที่ผิดโดยไม่รู้ตัว ถึงแม้ว่าบทความนั้นก็ยังสามารถสื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้ผ้าอนามัย ที่ถูกวิธีก็ตาม
 

อ้างอิงจากเว็บไซต์
ศูนย์ข้อมูลเครื่องสำอาง กองเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_cosmetic/applications/pics/new/%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2.htm

5 หยุดมะเร็งร้ายภัยเงียบใกล้ตัว โรงพยาบาลพญาไท
http://phyathai.com/women_cancer

ราชวิทยาลัยสูตินารีเวชแห่งประเทศไทย
http://www.rtcog.or.th/html/articles_details.php?id=13

ศูนย์สูติ-นรีเวช (สุขภาพสตรี) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
http://www.bumrungrad.com/th/womens-center-obgyn-thailand/cervical-cancer

ไม่มีความคิดเห็น: