วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

วิจัยชี้ นั่งทํางานนานหลายชั่วโมง โรคภัยรุมเร้า-เสี่ยงพิการ

    วิจัยชี้ นั่งทำงานนานหลายชั่วโมง โรคภัยรุมเร้า-เสี่ยงพิการ

    วิจัยชี้ นั่งทำงานนานหลายชั่วโมง โรคภัยรุมเร้า-เสี่ยงพิการ


    การนั่งทำงานนานเป็นเวลาติดต่อกันหลายชั่วโมง ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

              วิจัยชี้ การนั่งทำงานนานเป็นเวลาติดต่อกันหลายชั่วโมง ส่งผลเสียต่อสุขภาพ โรคภัยรุมเร้า เสี่ยงพิการ แต่การเปลี่ยนอิริยาบถทุก 20 นาที จัดท่านั่งให้เหมาะสม รวมถึงการออกกำลังกาย สามารถลดปัจจัยเสี่ยงของโรคได้ 

              รู้ไหมว่าการที่เรานั่งทำงานนานติดต่อกันหลายชั่วโมง ทำให้สุขภาพเราแย่ขนาดไหน ลองมาดูรายงานจากเว็บไซต์เดลี่เมลของอังกฤษกันดีกว่า ซึ่งเผยผลวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในนิตย สาร Physical Activity & Health ของสหรัฐฯ ว่า การที่เรานั่งทำงานนานจนเกินไป หรือนั่งติดต่อกันนานเกิน 12 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้ร่างกายของเรามีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาด้านสุขภาพหลายประการ และทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการพิการมากถึง 50% 

              โดย ศาสตราจารย์ มาร์ก ไวท์ลีย์ จากไวท์ลีย์ คลินิก ที่เวสท์ลอนดอน ได้อธิบายว่า การนั่งนาน ๆ นั้นจะทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนออกจากขาขึ้นมาสู่หัวใจได้ ทำให้เส้นเลือดดำในขาและเท้ามีความดันโลหิตสูงตลอดเวลา และเมื่อผนังของเส้นเลือดดำได้รับแรงดันสูงตลอดเวลา โปรตีนและของเหลวบางชนิดอาจรั่วไหลไปยังเนื้อเยื่อจนส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ นอกจากนี้จากการไหลเวียนของเลือดที่ขาลดลง ยังสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการอุดตันของเส้นเลือดได้อีกด้วย เช่น โรคหลอดเลือดดำอุดตัน (DVT) เป็นต้น 

              ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ มาร์ก ไวท์ลีย์ ได้แนะนำว่า การที่เราแกว่งเท้า หรือลุกขึ้นเดิน เปลี่ยนอิริยาบถ ทุก ๆ 20 นาที จะสามารถช่วยในด้านการไหลเวียนของเลือดได้ 

              นอกจากปัญหาด้านการไหลเวียนของเลือดแล้ว การที่เรานั่งทำงานอยู่กับที่เป็นเวลานานหลายชั่วโมงติดต่อกันนั้น ยังสามารถนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพร้ายหลายหลายประการอีกด้วย ดังนี้


              1. น้ำตาลในเลือดสูง

              มาร์ก แวนเดอร์พัมพ์ วิทยากรอาวุโสด้านโรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ จาก Royal Free London NHS Foundation Trust เผยว่า การนั่งนานเกินไปโดยไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานาน อาจทำให้เราเกิดการต่อต้านอินซูลินได้ และนำเราไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ จะสามารถช่วยเพิ่มระดับการทำงานของอินซูลินที่กระทำต่อกลูโคส และช่วยระบบกล้ามเนื้อได้ 
              2. ท้องผูก

              แอนตัน เอ็มมานูเอล ที่ปรึกษาด้านระบบทางเดินอาหารจาก University College Hospital ในกรุงลอนดอน อังกฤษ เผยว่า การที่เราไม่เคลื่อนไหวเป็นเวลานานนั้นจะทำให้เราเกิดอาการท้องผูกได้ เพราะเมื่อเรานั่งนาน ๆ จะส่งผลให้การบีบหดตัวของลำไส้ลดลง เป็นผลให้อุจจาระแห้งแข็งและถ่ายออกได้ยาก และอาการนี้จะเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหากมีการนั่งอยู่กับที่นาน ๆ อย่างไรก็ตาม เราสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการออกกำลังกายเบา ๆ สัก 10 นาทีต่อวัน เช่นการเดินบันไดขึ้นลงในที่ทำงาน 

              3. ปวดศีรษะ

              แซมมี่ มาร์โก้ นักกายภาพบำบัด เผยว่า การที่เรานั่งทำงานอยู่ที่โต๊ะทำงานเป็นเวลานาน จะทำให้ศีรษะ คอ หลัง และไหล่ของเราเกิดการงอตัวเป็นรูปตัว C ซึ่งจะทำให้เราเกิดอาการปวดศีรษะได้ นอกจากนี้ การงอตัวนี้ยังส่งผลกระทบต่อไหล ทำให้มีอาการปวดไหล่ ไหล่แข็ง หรือเคลื่อนไหวได้น้องลงอีกด้วย

              โดย แซมมี่ ได้ให้คำแนะนำว่า ท่านั่งที่ดีนั้นควรจะนั่งให้บั้นท้ายชิดส่วนในสุดของเก้าอี้ หลังติดพนักพิง และเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อที่หลังส่วนกลางและส่วนบนนั้น สามารถทำได้ด้วยการเอื้อมมือทั้ง 2 ข้างไปจับกันไว้ด้านหลัง เพื่อช่วยกู้คืนลักษณะการขดตัวรูปตัว C โดยให้ทำในทุก ๆ ชั่วโมงของการทำงาน

              4. หัวเข่าเสื่อม

              เราอาจจะคิดว่าโรคข้อเข่าเสื่อมมักจะเกิดขึ้นในคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำมากกว่า แต่ผู้เชี่ยวชาญได้เผยว่า การนั่งนานเกินไปนั้นยังมีส่วนเชื่อมโยงสู่อาการหัวเข่าเสื่อมเช่นกัน เพราะการไม่ได้เคลื่อนที่เป็นเวลานานนั้นได้นำไปสู่โรคอ้วน และมวลของร่างกายที่เพิ่มขึ้นก็ส่งผลให้เกิดความดันที่ข้อต่อมากขึ้น นอกจากนี้การไม่ได้ใช้งานกล้ามเนื้อเป็นระยะเวลานานยังอาจนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงอีกด้วย 

              โดย ฟิลิปส์ โคนาแกน ศาสตราจารย์ด้านกล้ามเนื้อและกระดูก ที่มหาวิทยาลัยลีดส์ เผยว่า ให้ลองสังเกตดูว่า หากเราต้องใช้แขนของเราช่วยยันในขณะที่ลุกขึ้นจากเก้าอี้ นั่นหมายถึงกล้ามเนื้อต้นขาของเราเริ่มอ่อนแรงลงแล้ว

              5. มะเร็งลำไส้ใหญ่

              นักวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ออสเตรเลีย พบว่า ผู้ที่ทำงานประจำเป็นเวลานานกว่า 10 ปี มีโอกาสที่จะเกิดเนื้องอกที่ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายมากกว่าถึง 2 เท่า และ 44% ของผู้ป่วยก็มีโอกาสพัฒนากลายมาเป็นมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยอีกหลายประการเช่นกันที่จำทำให้ผู้ที่นั่งติดเก้าอี้นาน ๆ เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น: