วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557

มาป้องกันและลดความเสื่ยงโรคมะเร็งลําไส้ใหญ่กันเถอะ

    มาป้องกันและลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันเถอะ

    มาป้องกันและลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันเถอะ


    มะเร็งลำไส้ใหญ่
    การป้องกันและลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ (ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง)

              แม้จะยังไม่มีวิธีขจัดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึง 100% แต่ก็มีวิธีปฏิบัติตัวและป้องกันหรือลดความเสี่ยงลงได้ ดังนี้

                บริโภคอาหารที่อุดมด้วยผักและผลไม้ เพื่อให้มีเส้นใยหรือกากอาหารมากขึ้น อุจจาระจะมีขนาดโตขึ้นจนขับถ่ายง่ายขึ้น ไม่คั่งค้างในลำไส้ใหญ่นานเกินไป จนปล่อยสารเคมีที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการกลายพันธุ์ของเซลล์ลำไส้


    ผักผลไม้

                ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะได้ทั้งการลดความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ และยังช่วยลดความอ้วน

    โยคะ



                กรณีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรพบแพทย์เพื่อช่วยพิจารณาความเสี่ยงรวมถึงการเข้ารับการตรวจดูลำไส้ใหญ่ปีละครั้งด้วยการส่องกล้องเพื่อตรวจคัดว่ามีมะเร็งหรือเนื้องอก โพลิปหรือไม่ เพื่อจะได้วินิจฉัยและทำการรักษาให้หายขาดได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ นั่นเอง 

    ตรวจสุขภาพ



                สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่เอง มักมีอาการของโรคคือ แน่นอืด จึงควรเลือกรับประทานพืชผักจำพวกที่ช่วยขับลมร่วมด้วย เช่น ใบแมงลัก ใบกะเพรา  ใบโหระพา รวมถึงผักผลไม้ต่างๆ ให้มากเพื่อให้มีกากใย ช่วยในการระบาย แต่ไม่แนะนำให้ทานข้าวเหนียวและเนื้อสัตว์ย่อยยาก เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย หรือเนื้อหมู ตลอดจนเนื้อติดมันทุกชนิด

    ใบกะเพรา


                ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่บางราย อาจมีอาการถ่ายอุจจาระไม่ได้จริง ๆ จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อได้รับยาช่วยถ่ายอุจจาระ ซึ่งยาถ่ายจะมีอยู่ 2 แบบ  แต่ละแบบจะมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป คือ

                1. ยาถ่ายประเภทที่ทำให้ลำไส้เก็บความชื้นได้ดีขึ้น และกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวด้วย ทำให้อุจจาระนิ่ม เวลาขับถ่ายจึงไม่ปวดและขับถ่ายสะดวกขึ้น

                2. ยาถ่ายประเภทกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัว ดังนั้นเวลาถ่ายจะทำให้รู้สึกปวด อุจจาระยังแข็ง



    ยา


               อีกวิธีที่อาจช่วยให้ผู้ป่วยถ่ายได้ ก็คือ การสวน ซึ่งมีข้อดีคือเวลาถ่ายผู้ป่วยจะไม่ต้องเบ่ง เพราะน้ำยาสวนจะเข้าไปทำให้อุจจาระเหลว ถ่ายออกมาได้เลย

                หมั่นออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นให้ลำไส้ได้เคลื่อนไหว ทำงานมีประสิทธิภาพ

                เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน

                เลือกรับประทานอาหารที่ดี  มีเส้นใยมาก หลีกเลี่ยงอาหารบูดเน่าหรือย่อยยาก ไขมันเยอะ

     

ไม่มีความคิดเห็น: