วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

นักวิทยาศาสตร์ใช้การจับมือเป็นเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตของผุ้ป่วย

นักวิทยาศาสตร์ใช้การจับมือเป็นเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

handshake
การจับมือนั้นสามารถนำมาใช้ประเมินความแข็งแรงและระดับคุณภาพชีวิตในหมู่คนไข้ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษได้ ( รูปภาพจาก http://blog.ebyline.com/ )
คนเรามักตัดสินผู้คนที่เข้ามาทำความรู้จักจากท่าทีและการทักทายเช่นการจับมือหรือเชคแฮนด์ ซึ่งงานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ยอมรับว่าการบีบมือกันที่แสนจะเรียบง่ายนี้แหล่ะที่จะเป็นเครื่องมือวินิจฉัยชิ้นสำคัญสำหรับการประเมินความแข็งแรงและระดับคุณภาพชีวิตในหมู่คนไข้ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
ในงานวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่งได้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Support Care Cancer นั้น ศาสตราจารย์ Robert Kilgour จากมหาวิทยาลัย Concordia และเพื่อนร่วมงานของเขาที่ McGill Nutrition and Performance Laboratory ได้ยืนยันถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างแรงที่มาจากการจับมือและอัตราการมีชีวิตรอดของผู้ป่วย
ซึ่งการทดสอบนั้นไม่ยากเลย ผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 203 รายที่ต้องต่อสู้กับมะเร็งระยะร้ายแรงได้ทำการบีบอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่เรียกว่า dynamometer หรือเครื่องวัดแรงด้วยมือข้างที่ถนัด  อุปกรณ์ดังกล่าวนั้นจะวัดแรงบีบสูงสุดของผู้ป่วย เนื่องจากการทดสอบดังกล่าวนั้นไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์มากมายหลายชิ้นนัก การใช้วิธีดังกล่าวในการประเมินอาการนั้นได้ประโยชน์ทั้งในด้านการพกพาและการใช้งานจริงด้วย “การวัดแบบนี้นั้นเป็นหนึ่งในหลากหลายวิธีที่จะจัดหมวดหมู่ผู้ป่วยตามความรุนแรงของอาการป่วยของพวกเขา ซึ่งวิธีนี้จะสามารถช่วยให้เราตัดสินใจวิธีการรักษาเพิ่มเติมที่จำเป็นไม่ว่าจะเป็นในทางการแพทย์ โภชนาการ หรืออื่นๆ”
ในขณะที่การทดสอบรูปแบบอื่นนั้นมักจะต้องใช้การรายงานสภาพของตัวเองจากคนไข้ หรือการตรวจสอบปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องอย่างเช่นน้ำหนักตัวที่ลดลงนั้น วิธีการวัดแรงบีบมือดังกล่าวนั้นมุ่งสนใจไปที่ความแข็งแรงของร่างกายเพียงอย่างเดียว ซึ่งความแม่นยำจากการทดสอบนี้จะสามารถทำให้แพทย์สามารถประเมินการถดถอยลงของสุขภาพคนไข้ได้
แพทย์ผู้ให้การรักษานั้นมักจะจัดกลุ่มผู้ป่วยโดยใช้ค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ โดยผู้ป่วยที่อยู่ต่ำกว่าช่วงเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 10 นั้นจะอยู่กลุ่มที่มีอาการร้ายแรงที่สุด ในขณะที่กลุ่มที่อยู่ในช่วงเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 นั้นจะมีสุขภาพที่แข็งแรงกว่า ในกรณีส่วนใหญ่นั้น การชะลอการทรุดตัวของอาการคนไข้และค่อยรักษาระดับคุณภาพชีวิตเอาไว้ให้อยู่ในเกณฑ์ดีนั้นก็ถือว่าเป็นการประสบความสำเร็จที่สำคัญมาก และ Kilgour กับเพื่อนร่วมงานของเขาก็เชื่อว่าการทดสอบแรงบีบนี้จะสามารถช่วยคนไข้ได้ทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในช่วงเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 ซึ่งสำหรับกลุ่มนี้นั้น การแทรกแทรงเพียงเล็กน้อยเช่นการเริ่มการออกกำลังกายหรือการเปลี่ยนแปลงอาหารที่รับประทานนั้นก็สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเกิดผลลัพธ์ที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของสุขภาพร่างกายและจิตใจของคนไข้


ที่มา : http://www.sciencedaily.com/releases/2014/02/140226125344.htm

ไม่มีความคิดเห็น: