วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ร้อนใน สัญญาณเตือนภัยสูขภาพ

ความเจ็บร้อนภายในปากที่หากรับประทานอาหารรสจัดหรือเพียงแค่มีอุณหภูมิ ร้อนขึ้นมาสักหน่อยก็จะแผลงฤทธิ์ให้เจ็บปวดขึ้นมานั้น ส่วนใหญ่เราเรียกว่า “ ร้อนใน ” คำนี้มีความหมายลึกซึ้งมากในทางสุขภาพเพราะสามารถบอกโรคภัยไข้เจ็บไปจนถึง เรื่องของจิตใจและอารมณ์ของบุคคลนั้นๆ ได้แถมยังเป็นมาตรวัดสุขภาพที่รู้ได้ด้วยตัวเองดังนั้นหากเกิดอาการ ร้อนใน ขึ้นมาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรต้องทราบให้รู้แน่
ร้อนใน บอกอะไร
สาเหตุ ของแผล ร้อนใน ที่น่ารู้และดูแล้วพบบ่อยมีหลายเรื่องที่คาดไม่ถึงครับ ส่วนใหญ่เรามักคิดถึงสาเหตุจากการเหนื่อยล้าหรือนอนดึกเท่านั้น แต่ยังมีเหตุที่น่าสนใจอีกดังต่อไปนี้ครับ
  • ติดเชื้อในช่องปาก ทั้งจากเชื้อแบคทีเรียและไวรัส หรือบางคนที่ภูมิไม่แข็งแรงอยู่แล้วอาจพ่วงเชื้อ “รา” เข้าไปด้วย มีอาการแผลกว้างและลึก มีน้ำเหลืองหรือหนองออกมาเปรอะ และที่แน่นอนคือ ต่อมน้ำเหลืองข้างคอต้องโตด้วยครับ นอกจากนั้นยังมีเชื้อแปลกบางชนิดที่ผลิตแผล ร้อนใน ได้ อาทิ เชื้อวัณโรคครับ
  • มีสิ่งแปลกปลอมในปาก อาทิ ก้างปลา เหล็กดัดฟัน ฟันปลอมที่ไม่พอดีเหงือก เหล่านี้มีสิทธิ์เป็นผู้ร้ายทำอันตรายเยื่อเมือกอ่อนๆ (Oral Mucosa) ได้ หากมีสิ่งแปลกปลอมชั่วครั้งชั่วคราวอย่างเหล็กดัดฟัน พอเลิกใส่มันก็จะหายได้เอง แต่ถ้าเป็นของที่อยู่นานอย่างฟันปลอมก็อาจทำให้เป็นแผลเรื้อรังมีกลิ่นปาก ได้ครับ
  • กินอาหารมันและหวานจัด การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยน้ำมันพืชจะมีกรด “โอเมก้า 6” สูง กระตุ้นการอักเสบในช่องปากได้ส่วนของหวานก็ทำให้เกิดการอักเสบและเรียกเชื้อ แบคทีเรียมารุมกินโต๊ะด้วยได้ง่ายขึ้น
ที่ว่ามาคือสาเหตุที่มัก พบบ่อยครับ ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่มักพ่วงมากับ ร้อนใน คือ “ต่อมน้ำเหลืองโต” ซึ่งเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ และเมื่อ ร้อนใน หายมันก็จะหายไปเช่นกัน เรื่องสำคัญอยู่ที่ต้องแก้ให้ถูกจุดเท่านั้นละครับ
185912617

ร้อนใน อาจเป็นได้มากกว่าที่คิด
การ รู้จักสาเหตุของ ร้อนใน ให้ดีเป็นสิ่งที่จำเป็นครับ เพราะ ร้อนใน อาจเป็นสัญญาณที่บอกเป็นนัยถึงสิ่งไม่พึงปรารถนาอย่างการเป็น “มะเร็งในช่องปาก” นั้น จากการศึกษาพบว่า แผล ร้อนใน ไม่ใช่ความเสี่ยงหรือสาเหตุแน่ครับ แต่สำหรับผู้ที่เป็นแผลในปากก็อย่าเพิ่งวางใจว่าแผล ร้อนใน นั้นไร้พิษภัย ข้อนี้ฝากไว้ด้วยความเป็นห่วงจริงๆ ครับ เพราะสิ่งหนึ่งที่ต้องนึกถึงไว้เสมอคือแผลในช่องปากไม่ใช่แผล ร้อนใน อักเสบเสมอไป แต่อาจเป็น “แผลมะเร็ง” ได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่าเป็นกันบ่อยแล้วจะเห็นเป็นเรื่องธรรมดานะครับ ในกรณีของสาเหตุ ร้อนใน ที่พบได้ไม่บ่อยแต่ก็ไม่ควรประมาทมีอยู่สองอย่าง คือ
  • มะเร็งในช่องปาก สังเกตได้ง่ายคือ ผู้ป่วยมักมีประวัติสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ และตัวแผลนั้นก็ดู “ดุ” กว่า ร้อนใน ทั่วไป เช่น แผลโตไว ดูขรุขระ ขอบไม่สวย และเป็นเรื้อรังผิดสังเกต
  • เชื้อไวรัสเริม เชื้อเริมเติบโตได้ดีที่เยื่อบุครับ ในช่องปากเป็นบ้านที่อยู่สบายของไวรัส เพราะมีทั้งความชุ่มชื้นอบอุ่นและเป็นส่วนตัวจึงไม่น่าแปลกที่เชื้อไวรัสแผล ในปากจะงอกงามดีอย่างที่เรียกว่าแพร่ลูกหลานไปเป็นแผลหลายจุดได้
ดัง นั้นในคนที่เป็นแผล ร้อนใน แบบมีออปชั่นเสริมอย่างมีไข้ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บและแผลดูไม่สวย แถมเป็นๆ หายๆ ไม่ขาดสักทีอย่างนี้อย่านอนใจครับ
ต้าน ร้อนใน ด้วยสูตรป้องกันแผลในปาก
ประการ แรก ให้ตัดบุหรี่และพิษที่เสี่ยงต่อช่องปาก เช่น ของทอดของมัน ของหวานจัด รวมถึงการกินของร้อนจัดเกินไป และการดื่มเครื่องดื่มพวกชา กาแฟ และแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไปประการต่อมาคือ เรื่องของอาหาร โดยขอให้เน้นอาหารที่มี “ฤทธิ์เย็น” ซึ่งช่วยดับการอักเสบได้ มักมีรสขมซึ่งอุดมไปด้วยธาตุฝาดสมานอย่างมะระ ผักที่มีรสขมเป็นยาของแท้ ถ้าอยากแก้อาการ ร้อนใน ต้องไม่พลาดเมนูต้มมะระหรือมะระผัดไข่ ส่วนคนที่สนใจทางเลือกอาจนำมะระมารับประทานกับขนมจีนน้ำยาก็อร่อยดีครับ ส่วนสะเดาเอาใจผู้ที่ชอบสูตรน้ำปลาหวาน แต่สำหรับสูตรต้านแผลในปากไม่อยากให้รสหวานหรือเค็มเกินไป อาจรับประทานกับปลาย่างสูตรโบราณก็ได้เพราะในสะเดามีทั้งโฟเลต ธาตุเหล็ก และสังกะสีที่ช่วยแผล ร้อนใน อีกทั้งวิตามินช่วยสมานแผลที่ผิวหนังอย่างวิตามินเอและซีก็มีอยู่มากครับ
นอก จากนี้ยังมีประเภทเครื่องดื่มที่เยียวยาแผล ร้อนใน ได้ดี ไม่ว่าจะเป็นน้ำใบบัวบกและน้ำข้าวกล้องงอก ซึ่งมีเคมีที่ช่วยดับอักเสบอย่าง “วิตามินบี” มาก ช่วยสมานแผลที่กำลังอักเสบอยู่และปกป้องช่องปากจากแผล ร้อนใน หากต้องการเพิ่มคุณค่า เวลาดื่มน้ำข้าวกล้องงอกให้ใส่ธัญพืชเข้าไปด้วยจะยิ่งช่วยได้มากครับ สำหรับน้ำเก๊กฮวยจะดื่มแบบร้อนหรือเย็นก็เป็นของช่วยลดอาการร้อนอักเสบใน ร่างกายได้หรือจะเป็นน้ำเฉาก๊วยเย็นชื่นใจใส่น้ำตาลพอหวานปะแล่มๆ ช่วยให้ปากที่ ร้อนใน สบายขึ้นเหมือนติดแอร์เลยครับ
ที่ว่ามาเป็นทาง เลือกที่จะใช้ช่วยทุเลาอาการ ร้อนใน ได้ และในกรณีที่เป็นไม่มากก็รักษาให้หายได้เลย จะได้ไม่ต้องใช้ “ยาป้ายแก้แผล ร้อนใน ” บ่อยเกินไป เพราะยาป้ายกลุ่มนี้ถ้าเป็นครีมใสๆ ก็มักมี “สเตียรอยด์” อ่อนๆ ผสมอยู่ ถ้าทาถูไปนานๆ อาจพาเชื้ออักเสบเข้ามาแถมได้อีก เช่น เชื้อหนองและเชื้อราครับ กลายเป็นยิ่งทายิ่ง ร้อนใน แสนปวดใจเวลาอดกินของอร่อย
ขอบคุณที่มาจาก : นิตยสาร Health&Cuisine ตุลาคม, Issue 141
เขียนโดย: นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช drkrisda@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: