“…..อาบน้ำด้วย สบู่เหลว ตายเร็ว!!
ถ้าคุณชอบอาบน้ำด้วย สบู่เหลว ละก้อ ควรอ่านบทความนี้…
เดี๋ยว นี้สบู่เหลวได้รับ ความนิยมยิ่งขึ้น ด้วยเหตุผลของความสะดวกสบาย เป็นสำคัญ แต่คุณรู้ไหมว่า สบู่เหลว ที่เราใช้กันอยู่นั้นไม่ใช่สบู่ แต่ เป็นสารเคมีล้วนๆ สบู่เหลวที่ดีจริงๆจะต้องมีส่วนผสมของเนื้อสบู่อย่างน้อย 25% แล้วที่เหลือเป็นน้ำ แต่ความเป็นจริงแล้วไม่มีสบู่เหลวแบบนี้วางขายอยู่เลย เพราะผลิตภัณฑ์เกือบทุกชนิดที่วางขายอยู่นั้น เป็นแค่ใช้สารซักฟอกหรือดีเทอเจน ผสมกับสารเคมีสังเคราะห์ อื่นๆ แล้วทำให้อยู่ในรูปของเหลว ซึ่งสารซักฟอก หรือดีเทอเจนก็คือสารเคมีหลัก ที่ใช้ในการผลิตแชมพู น้ำยาล้างจาน น้ำยาทำความสะอาดพื้น หรือแม้แต่น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำนั่นเอง จะผิดกันก็แต่ว่าความเข้มข้นของสารซักฟอก ที่ใช้ทำ สบู่เหลว มีความเจือจางกว่าเท่านั้น
ผล กระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ สบู่เหลว คงไม่เกิดขึ้นในฉับพลันทันที แต่จะสะสมเป็นปัญหาในระยะยาวได้ เพราะสารเคมีเหล่านี้จะแทรกซึมลงไปในผิวหนัง อวัยวะ ภายใน และกระแสเลือดได้ทุกครั้งที่เราอาบน้ำ SLS หรือ โซเดียมลอริลซัลเฟต เป็นตัวอย่างหนึ่งของสารเคมีหลักที่มักใช้ในสบู่ คุณลองไปพลิกพวกผลิตภัณฑ์ซักล้างทุกอย่างดู จะเห็นส่วน ผสมนี้จริงๆ บางทีใช้ชื่อว่าลอริล) และเป็นสารเคมีอันตราย หลายประเทศในยุโรปและอเมริกามีกฏหมายห้ามใช้ แล้ว และบางประเทศก็จำกัด ให้มีการใช้น้อยลง แต่ในบ้านเรากลับใช้กัน
อย่างแพร่หลาย ทั้งๆที่ SLS เป็นสารเคมีที่ดูดซึมผ่านผิวหนังได้ ง่ายและรวดเร็ว สามารถสะสมอยู่ในดวงตา สมอง หัวใจ ตับ และก่อปัญหาในระยะยาว หากยิ่งมีการใช้ร่วมกับ สารประกอบตระกูลอามีน ก็จะกลายเป็นสารก่อมะเร็งในที่สุด เพราะฉะนั้น เราอาจต้องถามตัวเองดูใหม่ ว่ามีความจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องใช้ สบู่เหลว ซึ่งจริงๆแล้วคือสารเคมีล้วนๆ แต่ถ้ายังคงต้องการที่จะใช้ การใช้ สบู่เหลว สำหรับเด็กก็จะดีกว่า ไม่ได้หมายความว่าปลอดภัย เพียงแต่มีสารเคมีเจือ จางกว่าเท่านั้น) แต่ถ้าจะให้ดี การกลับไปใช้สบู่ก้อนจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด……”
ซึ่ง หลังจากที่ลองตรวจสอบที่มาของข้อมูลนี้นั้น กลับเป็นบทความเก่าที่เป็นฟอร์เวิร์ดเมลแบบผิดๆส่งต่อกันมาตั้งแต่ปี 2553 แล้ว แต่กลับมามีคนเอามาแชร์ต่อเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดความสงสัยขึ้นมาอีกครั้งในหมู่สังคมออนไลน์ ที่บางคนอาจจะยังไม่เคยเห็นข่าวนี้ วันนี้เราเลยจะมาตอบข้อสงสัยของทุกคนกันค่ะ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ออกมาให้ข้อมูลแก่ประชาชน ดังนี้
นาย แพทย์ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าวว่าในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหลายชนิด เช่น แชมพูสระผม สบู่เหลว น้ำยาล้างจาน มีการใช้สารลดแรงตึงผิว ( Surfactant ) เป็นส่วนผสม ซึ่งมีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่
1. สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ ( anionic surfactant ) มีคุณสมบัติทำความสะอาดได้ดี มีราคาถูก และมีความแรงมากกว่าชนิดอื่น จึงอาจทำให้เกิดการระคายต่อผิวได้มาก เช่น sodium lauryl sulfate ( SLS )
2. สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุบวก ( cationic surfactant ) มักใช้ร่วมกับชนิดประจุลบในการแก้ไขจุดบกพร่องของผลิตภัณฑ์ เช่น benzalkonium chioride
3. สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุบวกและประจุลบ ( amphoteric surfactant ) เช่น cocamidopropyl betaine
4. สารลดแรงตึงผิวชนิดมีประจุระคายเคืองต่อผิวหนังน้อย เช่น nonyl phenol groups ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กหรือ สบู่เหลว จึงมักใช้สารลดแรงตึงผิวประเภทที่ 3 และ 4 เป็นส่วนผสม เนื่องจากมีความอ่อนโยนกว่าประเภทอื่น
ส่วนกรณีที่มีการเสนอข่าวว่า หาก สบู่เหลว ซึ่งมีส่วนผสมของสารโซเดียมลอริลซัลเฟต( SLS ) ไปผสมกับสารประกอบตระกูลเอมิน ( amine ) แล้วจะกลายเป็นสารก่อมะเร็งนั้นจากข้อมูลทางวิชาการพบว่า สารโซเดียมลอริลซัลเฟตสามารถทำปฏิกิริยากับสารตระกูลเอมินแล้วเกิดเป็นสารไน โตรซามิน จะต้องมีองค์ประกอบหรือสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมซึ่งทำให้เกิดปฏิกิริยาในโตรเฟ ชั่น ( nitrofation ) เช่น ต้องมีอุณหภูมิที่สูงกว่า 100 C ทำให้มีโอกาสเกิดสารก่อมะเร็งได้น้อยมาก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันพบว่ายังมีการนำสารโซเดียมลอริลซัลเฟตมาเป็นส่วนผสม ของผลิตภัณฑ์ แต่ผู้ประกอบการจะต้องมีการปรับสูตรให้เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐานและความ ปลอดภัย รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีการติดตามตรวจสอบส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้ปลอดภัยอยู่เสมอ
อธิบดี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่ออีกว่าสำหรับ สบู่เหลว ทั่วไปและที่ใช้ในสปาไม่น่าจะมีอันตราย หากผลิตภัณฑ์มีการใช้สารลดแรงตึงผิวในปริมาณที่เหมาะสมและเลือกใช้ให้ถูก ต้องตรงวัตถุประสงค์ของแต่ละสูตรตำรับ ซึ่งอาจมีการเติมสารอื่นๆ นั้น ไม่น่าจะเกิดอันตราย เพราะเป็นการเจือจาง สบู่เหลว เวลาใช้ อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยหลายอย่างที่ไม่เหมือนกันในแต่ละบุคคล ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละคน อาจจะทำให้เกิดผิวหนังแห้งได้ ดัง นั้น ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความชุ่มชื้นภายหลังการแช่น้ำด้วย และเนื่องจาก สบู่เหลว เป็นเครื่องสำอางทั่วไป กองเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย จึงได้ตรวจสอบการปนเปื้อนของ เชื้อจุลินทรีย์และการระคายเคืองเบื้องต้น ซึ่งจากการตรวจตัวอย่างที่ผ่านมาไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์เกิน มาตรฐาน และเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค รวมทั้งไม่เกิดการระคายเคืองเบื้องต้น
อย่าง ไรก็ตาม ขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่า หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องหลายแห่งได้ร่วมกันติดตามข้อมูลต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ หากมีปัญหาหรือมีข้อมูลของความไม่ปลอดภัย ก็จะมีการแจ้งเตือนภัยให้ประชาชนได้รับทราบ รวมทั้งเร่งดำเนินการตามกฎหมายและพิจารณายกเลิกห้ามใช้ ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน
ขอบคุณที่มาจาก : webdb.dmsc.moph.go.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น