วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ใช้ไม้จิ้มฟัน ผิดวิธี เสี่ยงเหงือกพัง

เวลาเศษอาหารติดตามซอกฟัน สิ่งที่คิดถึงก่อนอื่นเห็นจะเป็น ไม้จิ้มฟัน ไม้จิ้มฟัน เป็นอุปกรณ์ที่มีใช้มาตั้งแต่โบร่ำโบราณ เวลาเศษอาหารติดตามซอกฟัน คุณทำอย่างไร?
สิ่งที่คิดถึงก่อนอื่นเห็นจะเป็น ไม้จิ้มฟัน  ไม้จิ้มฟัน เป็นอุปกรณ์ที่มีใช้มาตั้งแต่โบร่ำโบราณ ทำจากไม้ โลหะ เขาสัตว์ ปัจจุบันทำมาจากพลาสติกก็มีมาก ลักษณะของ ไม้จิ้มฟัน ส่วนมากจะเป็นแท่งกลมเรียวแหลมเล็ก หน้าที่หลักของ ไม้จิ้มฟัน คือเพื่อใช้เขี่ยเศษอาหารชิ้นโตๆ ที่ติดตามซอกฟัน แต่ ไม้จิ้มฟัน ไม่สามารถทำความสะอาดในระดับที่เอาคราบอาหารหรือที่เรียกว่าคราบพลัค (plaque) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคฟันฟุและเหงือกอักเสบได้
153881961
การ ทำความสะอาดซอกฟันหรือด้านข้างของฟัน ทันตแพทย์จะมีอุปกรณ์หลายๆ อย่างที่จะแนะนำให้ใช้ เช่น ไหมขัดซอกฟัน (dental floss) แปรงซอกฟัน (interproximal brush) หรือ water pick
ไหมขัดซอกฟันเป็นใยไน ล่อนที่ใช้ทำความสะอาดซอกฟันและสามารถขจัดคราบอาหารหรือเศษอาหารชิ้นโตๆ ได้อย่างดี และไม่เป็นอันตรายต่อเหงือก เพียงแค่มีข้อจำกัดที่ต้องฝึกฝนในการใช้และจะใช้เวลาบ้างเล็กน้อยที่จะทำ ความสะอาดให้ครบทุกซี่ ทีนี้ถ้าเรามาเทียบ ไม้จิ้มฟัน กับไหมขัดฟันแล้วอะไรจะมีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดได้ดีกว่ากัน…
ตัว ไม้จิ้มฟัน ที่ใช้กันอยู่ มักจะใช้แบบผิดวิธี คือ เราจะใช้จิ้มเอาเศษอาหารออกโดยการผลัก ไม้จิ้มฟัน ให้ผ่านซอกเหงือก เพราะความเรียวเล็กที่ปลายและใหญ่ที่โคน เมื่อผลักเลยเข้าไปในซอกฟันมากๆ เข้าขนาดของ ไม้จิ้มฟัน ก็ไปเบียดให้ยอดเหงือกถูกกดต่ำลง เมื่อใช้กันทุกวี่ทุกวันหลังอาหาร ยอดเหงือกที่เคยแหลมๆ ปิดซอกฟันจะถูกเบียดให้ต่ำลง และทำให้มีช่องว่างใหญ่ขึ้น ช่องว่างใหญ่มีผลทำให้เศษอาหารติดง่ายยิ่งขึ้น (ยิ่งใช้ ไม้จิ้มฟัน เศษอาหารก็ยิ่งติด) เมื่อเกิดช่องว่างระหว่างฟันทำให้ขาดความสวยงามโดยเฉพาะฟันหน้า
วิธี ใช้ ไม้จิ้มฟัน อย่างถูกต้อง ก็คือ ใช้ ไม้จิ้มฟัน เขี่ยเศษอาหารมากกว่าการจิ้มเข้าไป เวลาเขี่ยเศษอาหารเราเขี่ยจากเหงื่อไปตามซี่ฟันไม่ควรทิ่มจากด้านหน้าฟัน ทะลุไปถึงหลังฟัน ถ้าทำอย่างนี้ได้ ไม้จิ้มฟัน จะไม่กดเหงือกให้ลดต่ำลง โอกาสเกิดช่องว่างก็น้อยลง เมื่อเกิดช่องว่างแล้วโอกาสแก้ไขให้ยอดเหงือกกลับมาสู่ตำแหน่งเดิมเป็น เรื่องยากมาก
ความสะอาดของ ไม้จิ้มฟัน ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญ เนื่องจาก ไม้จิ้มฟัน ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไปไม่มีการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง การใช้ ไม้จิ้มฟัน ไม่ระมัดระวังอาจมีการติดเชื้อได้โดยเฉพาะคนที่มีโรคเหงือกอักเสบอยู่แล้ว หรือมีการหักของ ไม้จิ้มฟัน คาอยู่ที่เหงือก
จะเห็นได้ว่า ไม้จิ้มฟัน เองมีประโยชน์ในการเขี่ยเอาเศษอาหารออกก็จริง แต่อีกด้านหนึ่งก็มีผลต่อโครงสร้างของเหงือกด้วยเช่นกัน

ขอบคุณที่มาจาก : นิตยสาร health today
www.thaihealth.or.th

ไม่มีความคิดเห็น: